เวียงกุมกาม เมืองหลวงล้านนาโบราณใต้ตะกอนทราย 

เวียงกุมกาม เมืองหลวงล้านนาโบราณใต้ตะกอนทราย 

เวียงกุมกาม เมืองหลวงล้านนาโบราณใต้ตะกอนทราย 

จังหวัดเชียงใหม่นอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอยู่หลายแห่ง ก็ยังมีเมืองโบราณ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมล้านนา นั้นก็คือ “เวียงกุมกาม” เมืองเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 700 ปี เหตุใดเมืองแห่งนี้ถึงเคยสาปสูญกลายเป็นเพียงเมืองแห่งตำนาน และกลับมาเป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักได้อย่างไร ในบทความนี้มีคำตอบ

( ติดตามตำนานต่างๆอีกมากมายได้ที่ คนมีดวง เว็บข่าวสารดีๆเสริมความปังให้กับทุกๆคน )

ที่ตั้งและลักษณะ

เวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3 – 4 อยู่ในเขตตำบลท่าวังตาลกับตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภีและอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง ลักษณะของเวียงกุมกาม เมืองมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และมีความกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองทอดยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง จึงจะเห็นได้ว่าในสมัยโบราณตัวเมืองเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

เวียงกุมกามที่ถึงแม้เวลาจะผ่านไปนานแต่หากดูจากโบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ เช่น “เจดีย์เหลี่ยม” เป็นเจดีย์รูปทรงสวยงามแปลกตา สร้างในปี พ.ศ. 1831 โดยพญามังราย เจดีย์พระประธานเป็นทรงสี่เหลี่ยม โดยมีสถาปัตยกรรมแบบหริภุญชัย ตัวเจดีย์เป็นทรงมณฑปสี่เหลี่ยมลด 5 ชั้น ซึ่งมีคล้ายรูปทรงพีระมิด มณฑปแต่ละชั้นทำซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปางต่าง ๆ ด้านละ 3 ซุ้ม รวมทั้งหมด 60 ซุ้ม และยังมีลายปูนปั้นที่ตกแต่งอยู่รอบ ๆ ลวดแต่มีความงดงาม

เวียงกุมกาม เมืองหลวงล้านนาโบราณใต้ตะกอนทราย  - ล็อตโต้สด59

ความเป็นมาของเวียงกุมกาม เมืองล้านนาโบราณ

เวียงกุมกาม เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักรล้านนา ถูกสร้างขึ้นช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1829 – 1838 ซึ่งเป็นยุคสมัยของพญามังราย เพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการปกครอง โดยพญามังรายได้ทรงติดต่อการค้าต่างๆกับเพื่อบ้าน อีกทั้งยังบัญญัติกฎหมายเพื่อการปกครองบ้านเมืองแบบ “มังรายศาสตร์” ทำในเวียงกุมกามในยุคสมัยนั้นมีความเจริญรุ่งเรื่องผู้คนอยู่ดีกินดี ต่อมาเวียงกุมกามที่เคยเจริญรุ่งเรื่องกลับเกิดอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ทำให้เมืองล่มสลาย ทำให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้ตะกอนดิน ชาวบ้านที่รอดตายต่างพากันอพยพออกจากพื้นที่เนื่องจากลำน้ำปิงที่เคยไหลผ่านกลับเปลี่ยนทิศทาง ผู้รอดชีวิตอีกส่วน เมื่อพม่ายกทัพมาไล่ต้อนชาวบ้านไปเป็นเฉลยศึก จึงทำให้เวียงกุมกามถูกทิ้งให้รกร้างและถูกฝังลึกลงไปใต้ดินกว่า 2 เมตร ทำให้เมืองที่เคยรุ่งเรื่องกลายเป็นเพียงตำนานของล้านนา

แต่เมื่อในปีพ.ศ. 2527 หน่วยศิลปากรที่ 4 ได้เข้ามาขุดแต่งวิหารกานโถม ที่วัดช้างค้ำ ซึ่งเป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม ทำให้นักโบราณคดีได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเวียงกุมกาม เมื่อศึกษาต่อไปเรื่อย ๆ ทำให้ได้ข้อสรุปที่แน่นอนว่าโบราณสถานในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี ที่อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตรนั้น ก็คือ “เวียงกุมกาม” จากนั้นก็ได้ทำการขุดแต่งโบราณสถานต่าง ๆ เพิ่มเติมพร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามมากขึ้น เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชม เปรียบเสมือนเป็นการรื้อฟื้นเมืองโบราณที่เคยรุ่งเรื่องของล้านนาให้กลับมมามีชีวิตอีกครั้ง

 

สถานที่สำคัญของเมืองโบราณ เวียงกุมกาม

  1. วัดกู่ป้าด้อม ประกอบด้วยวิหารเจดีย์ แท่นบูชา 2 แท่น โดยรอบล้อมด้วยแนวกำแพงแก้ว อยู่ต่ำกว่าระดับผิวดินในปัจจุบันถึง 2 เมตร คาดว่าน่าจะก่อสร้างขึ้นในช่วงพญามังรายประทับอยู่ที่เวียงกุมกาม 
  2. วัดช้างค้ำ เชื่อกันว่าเป็นวัดเดียวกับวัดกานโถมที่พญามังรายให้นายช่างชื่อกานโถมไปนำเครื่องไม้จากเชียงแสนมาสร้างวิหาร ในปีพ.ศ. 2527 กรมศิลปากรพบว่าโบราณสถานที่นี่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกถูกสร้างขึ้นก่อนสมัยของพญามังราย ส่วนอีกหนึ่งกลุ่ม

 เป็นโบราณสถานที่สร้างในยุคเวียงกุมกาม 

  1. วัดอีค่าง อยู่ติดกับแนวคูน้ำคันดินด้านตะวันตกของเวียงกุมกาม เจดีย์เป็นแบบล้านนาเนื่องจากตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน  เชื่อว่าอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 ในรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ.2060 ในปัจจุบันอยู่ลึกลงไปในผิวดิน ประมาณ 2 เมตร 
  2. วัดหนานช้าง มีโบราณสถานที่บ่งบอกร่องรอยของอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเวียงกุมกามในอดีตกาล โดยมีชั้นตะกอนทรายและชั้นดินที่ทับถมหนาถึง 1.80 เมตร 
  3. วัดปู่เปี้ย ปัจจุบันโบราณสถานอยู่ลึกลงประมาณ 2 เมตร ประกอบด้วยวิหารเจดีย์อุโบสถ แท่นบูชา องค์เจดีย์มีลักษณะศิลปกรรมแบบสุโขทัยและแบบล้านนารวมกัน

6.วัดธาตุขาว อยู่ลึกจากผิวดินปัจจุบันประมาณ 1 เมตร ประกอบด้วยเจดีย์ทรงกลมและพระอุโบสถ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมแบบศิลปะล้านนา อายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 

  1. วัดพญามังราย  ประกอบด้วยเจดีย์อยู่หลังวิหาร อุโบสถและซุ้มประตูโขงอยู่ด้านหน้า ลักษณะเจดีย์เป็นศิลปะล้านนา สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตรวรรษที่ 20
  2. วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเวียงกุมกามทางมุมด้านทิศ มีเนินโบราณสถาน เรียกว่า “เนินพญามังราย”  วัดนี้เป็นวัดสำคัญของเวียงกุมกามเพราะพบสิ่งก่อสร้างหลายแห่ง อีกทั้งยังขุดพบโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูปสำริดศิลปะล้านนาขนาดเล็กหลายองค์ พระพุทธรูปนาคปรกสำริดทรงเครื่องแบบศิลปะเขมร และพระพิมพ์แบบหริภุญไชย

 

การเข้าชมและการเดินทาง

เปิดให้ได้ทุกวัน เวลา 07.00-18.00 น. มีค่าบริการคนละ 10 บาท หากต้องการชมเมืองด้วยรถม้ามีค่าบริการ คันละ 300 บาท นั่งได้ 2 คน ใช้เวลาประมาณ 45 นาที

การเดินทางมายังเวียงกุมกาม เริ่มจากเซ็นทรัลแอร์พอร์ทเชียงใหม่ ให้ใช้ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตรงไปยังอำเภอสารภี เมื่อถึงถนนหลวงชนบท ชม.3029 ให้เลี้ยวขวาเพื่อไปตำบลท่าวังตาล ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามจะอยู่ติดถนน

 

สรุป 

เวียงกุมกาม

 เมืองหลวงล้านนาโบราณใต้ตะกอนทราย เมืองหลวงแห่งแรกของอาณาจักรล้านนาแม้จะเคยรุ่งเรื่อง แต่ก็แพ้พ่ายให้กับภัยพิบัติธรรม ทำให้เวียงกุมกามล่มสลายและถูกฝังถึกไปใต้ดินถึง 2 เมตร จนเมื่อในปีพ.ศ. 2527 ก็ได้ถูกค้นพบและได้ถูกบูรณะจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวโบราณที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงใหม่

เรื่องราวของตำนานสร้างความสุขให้ผู้อ่านได้ เช่นเดียวกับความสุขที่สร้างด้วยการเสี่ยงโชคกับ Lottosod59 เว็บออโต้กระเป๋าเดียวที่ดีที่สุด