เปิดตำนาน พระธาตุดอยตุง แห่งอาณาจักรล้านนนา 

เปิดตำนาน พระธาตุดอยตุง แห่งอาณาจักรล้านนนา 

เปิดตำนาน พระธาตุดอยตุง แห่งอาณาจักรล้านนนา 

หากจะพูดถึงพระธาตุที่มีความงดงามในประเทศไทย คงจะไม่พูดถึง พระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงรายไปไม่ได้เลย เนื่องจากปกติแล้วเราจะเห็นพระธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ เจดีย์หลักเพียงองค์เดียว  แต่ที่พระธาตุดอยตุงนั้นมีพระเจดีย์หลักถึง 2 องค์ ตั้งสง่าอยู่เคียงคู่กัน อีกทั้งบรรยากาศโดยรอบของพระธาตุดอยตุงยังมีความงดงามมากอีกด้วย

นอกจากนี้ ท่านสามารถติดตามเรื่องราว และตำนานได้อีกมากมายที่ “คนมีดวง” เว็บข่าวสารดีๆ เสริมความปัง ให้กับทุกๆคน

ข้อมูลทั่วไป

พระธาตุดอยตุง หรือ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง)  ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นวัดพระธาตุที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างมากของจังหวัดเชียงราย ดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กิโลเมตร ซึ่งมีความเก่าแก่และสวยงาม ยอดเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 2,000 เมตร สามารถมองเห็นวิวธรรมชาติโดยรอบของเมืองเชียงรายได้สุดลูกหูลูกตา พระธาตุ ดอยตุงมีลักษณะ เป็นเจดีย์สีทองอร่าม 2 องค์คู่กันรูปทรงของตัวพระธาตุเป็นปราสาทยอดทรงระฆังกลมขนาดเล็ก ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยม กรุกระเบื้องดินเผา แม้จะเป็นพระธาตุประจำปีกุน ในอุดมคติของชาวล้านนานั้น แต่ใช้ช้าง (กุญชร) เป็นสัญลักษณ์ ไม่ใช่หมูเหมือนที่เราเข้าใจกัน เมื่อถึงช่วงฤดูหนาวบรรยากาศรอบองค์พระธาตุจะถูกหมอกสีขาวปกคลุมทั่วบริเวณทำให้เห็นภาพบรรยากาศที่แปลกใหม่ไปจากเดิม ซึ่งสวยงามเป็นอย่าง อีกทั้งยังมีจุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่ขึ้นมาสักการะพระธาตุได้ชมวิวทิวทัศน์อีกด้วย ในช่วงเทศกาลนมัสการพระธาตุ ดอยตุงจะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย  หรือพุทธสาชนิกชนเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์ ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ ก็จะเดินทางเข้ามานมัสการเป็นประจำทุกปี

 

ความหมายของคำว่า ตุง

ตุง หรือ ธง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา มีความหมายว่า การมีชัยชนะ ความเจริญรุ่งเรือง ในวัดพระมหาชินธาตุเจ้าจะมีรอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ ชาวพุทธเชื่อกันว่าเป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ ที่สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3

เปิดตำนาน พระธาตุดอยตุง แห่งอาณาจักรล้านนนา 

ตำนานพระธาตุดอยตุง  

ตำนานเล่าว่า กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) นั้นก็คือ พระเจ้าอชุตราช ในสมัยนั้นได้มีสร้าง “พระธาตุ ดอยตุง” พระมหากัสสปะจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย นั้นก็คือ กระดูกไหปลาร้า แล้วนำมามอบให้แก่พระเจ้าอชุตราช ท่านจึงได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ที่เคยกล่าวไว้ แล้วจึงได้ให้ทำ ตุงหรือธง ที่มีความยาว 1,000 วา เพื่อนำมาปักบนยอดเขา โดยกำหนดว่า หากตุงปลิวไปตกที่ใดก็ให้ใช้สถานที่แห่งนั้นเป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ในเวลาต่อมาเมื่อถึงสมัยพระเจ้ามังรายนราชแห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ แต่ไม่สามารถนำลงที่เดิมได้ พระเจ้ามังรายนราชจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุ ดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

 

รูปแบบสมัยล้านนาและการบูรณะของครูบาศรีวิชัย

ในปีพ.ศ. 2470 พระครูบาศรีวิชัยเห็นว่า พระธาตุ ดอยตุงนั้นเกิดความทรุดโทรมเป็นอย่างมาก พระครูและประชาชนชาวเชียงรายจึงได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ โดยฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้มีการยกพื้นสูงขึ้น ถัดจากฐานเขียงเป็นส่วนฐานบัวคว่ำบัวหงาย พระครูบาศรีวิชัยใช้ลูกแก้วธรรมดาในการประดับอยู่ในผัง 8 เหลี่ยม ส่วนกลางของส่วนรองรับองค์ระฆัง พระครูบาศรีวิชัยได้บูรณะส่วนองค์ระฆังให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่วนยอด บัลลังก์แบบชุดฐานบัวรูป 8 เหลี่ยม เหนือบัลลังก์ปั้นรูปกลีบบัวหวายรายรอบรับบัวฝาละมีรูปบัวคว่ำในแผนผังทรงกลม รองรับปล้องไฉน ปลียอด ตามที่เห็นในรูปแบบดังกล่าวจะเป็นเจดีย์ทรงระฆังแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นศิลปกรรมของชาวล้านนาตอนปลาย

 

การเดินทาง

รถส่วนตัว ให้ใช้ทางขึ้นดอยตุงสายใหม่ ผ่านไปทางบ้านไทยใหญ่ร่มไทร กิโลเมตรที่ 2 เมื่อผ่านจุดชมวิว กิโลเมตรที่ 12 ให้เลี้ยวซ้ายระหว่างหลัก กิโลเมตรที่12 และ 13 ไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงพระตำหนัก ระยะทาง 15 กิโลเมตร หรือใช้ทางขึ้นสายเก่า โดยขับเลยแยกบ้านสันกองราว 1 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1149 ที่บ้านห้วยไคร้ ระหว่างหลักกิโลเมตร 871-872 เป็นทางขึ้นดอยตุงสายเก่า เส้นทางสูงชันกว่าสายใหม่ แต่ระยะทางสั้นกว่าเล็กน้อย ถนนจะไปบรรจบกับทางขึ้นสายใหม่ใกล้ กิโลเมตรที่ 6

รถรับจ้าง ขึ้นจาก อำเภอเมืองเชียงรายนั่งรถสายเชียงราย-แม่สาย ไปลงที่บ้านห้วยไคร้ เพื่อต่อรถสองแถวสีม่วงขึ้นไปดอยตุงที่สถานีขนส่งท่องเที่ยวดอยตุง ค่าเช่าเหมา 12คน ราคา 750 บาท (ไปกลับ) หรือค่าโดยสารคนละ 60 บาท ครบ 12 คนแล้วรถถึงจะออก รถสองแถวจะพาไปยังพระธาตุ ดอยตุง ตลาดสินค้าพื้นเมืองชาวเขา หน้าศูนย์วิจัยพืชไร่ ใกล้อ่างเก็บน้ำ และพระตำหนักดอยตุง ใช้เวลาเดินทางและพาเที่ยว 3 ชั่วโมง 

 

สรุป 

เปิดตำนาน พระธาตุ ดอยตุง แห่งอาณาจักรล้านนา พระธาตุ ดอยตุงเป็นอีกหนึ่งพระธาตุที่มีชื่อเสียงมากในประเทศไทย นอกจากพระธาตุจะมีความสวยงามแล้ว บรรยากาศรอบๆพระธาตุก็งดงามไม่แพ้กัน หากท่านใดที่มีโอกาสไปเที่ยวจังหวัดเชียงราย ก็อย่าลืมแวะไปสักการะ กราบไหว้ขอพรที่พระธาตุ ดอยตุงกันด้วยนะคะ

อ่านบทความจบแล้ว อย่าลืมเสี่ยงโชคกับ Lottosod59 เว็บออโต้กระเป๋าเดียวที่ดีที่สุด