เทศกาลโฮลี สงกรานต์อินเดีย เทศกาลแห่งการสาดสี

เทศกาลโฮลี สงกรานต์อินเดีย เทศกาลแห่งการสาดสี

เทศกาลโฮลี สงกรานต์อินเดีย เทศกาลแห่งการสาดสี

เทศกาลโฮลี สงกรานต์อินเดีย เทศกาลแห่งการสาดสี ในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเทศกาลที่แพร่หลายมาตั้งแต่ในอดีตนั่นคือเทศกาลสงกรานต์แต่รู้หรือไม่ว่าเรารับเทศกาลและคติความเชื่อเหล่านี้มาจากอินเดียแต่ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น สงกรานต์ อินเดียไม่ได้สาดน้ำกันแบบในบ้านเราแต่ว่าสงกรานต์ อินเดียนั้นสาดสีกัน และเรียกเทศกาลนี้ว่าเทศกาลโฮลีหรือโฮลิปูรณิมา

ท่านสามารถติดตามเรื่องราวอีกมากมายได้ที่ คนมีดวง เว็บข่าวสารดีๆ เสริมความ ปังให้กับทุกๆคน

ข้อมูลเบื้องต้น

ในทุกคติความเชื่อที่มีรากฐานมาจากอินเดียนั้นได้กล่าวว่า สงกรานต์ เป็นภาษาสันสกฤตที่มีความหมายว่าก้าวย่าง ก้าวผ่าน ซึ่งจะหมายถึงการเปลี่ยนราศีของดวงดาวเป็นการเปลี่ยนเวลาเป็นเดือน ซึ่งมีการเปลี่ยนทั้งหมด สิบสองครั้งในหนึ่งปีแต่จะมีครั้งที่สำคัญที่สุดตามความเชื่อในคติของฮินดูที่นับวันเวลาตามสุริยคตินั่นคือการที่ดาวอาทิตย์ย้ายจากราศีมีเข้าสู่ราศีเมษ ถือเป็นวันมหาสงกรานต์และเป็นวันขึ้นปีใหม่

 

ตำนานเทศกาลโฮลี

ตำนานดังกล่าวได้เล่าถึง หิรัณยกศิป ผู้เป็นเจ้าแห่งอสูร อสูรตนนี้ได้รับพรจากการบำเพ็ญเพียรแด่พระพรหมว่าขอให้เป็นอมตะ เมื่อได้รับพรแล้ว หิรัณยกศิป มีการกำเริบต้องการให้ผู้คนทั้งหมดเลิกบูชาเทพเจ้าและมาบูชาตนเพียงคนเดียว แต่กลับกลายเป็นว่าลูกชายของตนที่มีชื่อว่าประหลาด กลับไม่ยอมบูชาตนเลยเอาแต่บูชาพระวิษณุนารายณ์ทำให้ หิรัณยกศิป โกรธเอามากๆจึงออกอุบายให้ลูกสาวของตนและเป็นน้องของประหลาดที่มีชื่อว่า โฮลิกา ซึ่งน้องสาวของประหลาดนั้นได้รับพรว่าไม่ว่าเปลวไฟใดๆร้อนแรงแค่ไหนก็ไม่สามารถทำอันตรายนางได้แต่มีเงื่อนไขว่านางต้องอยู่ในกองไฟเพียงคนเดียวเท่านั้น เมื่อคิดได้ดังนั้น หิรัณยกศิป จึงได้จัดพิธีบูชาไฟขึ้นและให้ออกอุบายให้ทั้งสองเข้าไปในเปลวไฟ นางโฮลิกานั้นได้ลืมเงื่อนไขและคิดว่าไฟไม่สามารถทำอะไรนางได้ทำให้นางเข้าไปในกองไฟพร้อมประหลาดปรากฏว่า นางโดนไฟเผาแต่ประหลาดไม่เป็นอะไรเลยเพราะเค้ามีความเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์พระวิษณุนารายณ์นั่นเอง

เทศกาลโฮลี สงกรานต์อินเดีย เทศกาลแห่งการสาดสี - ล็อตโต้สด 59

ทำไมเทศกาลโฮลี ต้องสาดสี    

เทศกาลโฮลีนั้นคือการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ สิ่งที่คนนิยมทำกันนั่นคือการนำสิ่งสกปรกออกจากบ้านนำไปไว้รวมกันแล้วเผาทิ้งในระหว่างที่เผาขยะทิ้งไปนั้นจะมีการเฉลิมฉลองร้องเล่นเต้นระบำกัน หลังจากค่ำคืนแห่งการเผาสิ่งไม่ดีหมดไปในตอนเช้าผู้คนจะเฉลิมฉลองกันด้วยการสาดสี เนื่องจากมีความเชื่อว่าการสาดสีใส่กันและกันนั้นจะเป็นการปัดเป่าขับไล่โรคร้ายให้ออกไปจากตัวโดยสีที่นำมาสาดสีใส่กันนั้นจะทำมาจากสีของธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเขียว สีเหลือง และอื่นๆล้วนถูกทำมาจากสมุนไพรทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรที่มีสีเหลืองคือขมิ้น ถ้าหากมองในมุมมองของวิทยาศาสตร์ พืชสมุนไพรเหล่านี้มีฤทธิ์ที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานของร่างกายเปรียบเสมือนการใช้กลิ่นของสมุนไพรบำบัดเหมือนในประเทศไทยที่นิยม ดมพิมเสนการบูรเพื่อคลายอาการวิงเวียนศีรษะ การเล่นสาดสีในโฮลิปูรณิมานั้นนิยมเล่นกันแค่ในตอนเช้าถึงเที่ยง แล้วช่วงเย็นค่อยออกมาพบปะสังสรรค์กันและปรับความเข้าใจกันในครอบครัวสำหรับใครที่โกรธกันอยู่ แต่การเล่นสาดสีนั้นไม่ได้มีคติความเชื่อเพียงเท่านี้แต่ยังมีคติความเชื่ออยู่อีกหนึ่งอย่างนั่นคือการเล่นสาดสีต้องสาดให้เลอะเทอะ จนติดเสื้อผ้าจนล้างและซักไม่ออก เพราะจะมีความหมายที่สื่อถึงมิตรภาพที่เหนียวแน่น และติดตรึงใจไปตลอดกาลไม่มีวันลบเลือนหรือจางหายไป และด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงนิยมใส่เสื้อผ้าสีขาวในการลงไป สาดสีใน โฮริปูรณิมา และจะเก็บเสื้อผ้านั้นไว้แม้ว่าจะเลอะเพียงใดก็ตาม เทศกาลโฮลีนั้นยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการสิ้นสุดฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอีกด้วย

 

สรุป    

สงกรานต์ อินเดียนั้นหากพูดถึงความเชื่อและแนวคิดนั้นแทบจะไม่ได้ต่างอะไรมากกับบ้านเราแต่สิ่งที่ต่างไปนั่นคือการละเล่นและการแสดงออกนั่นเอง

อย่าลืมมาเสี่ยงโชคด้วยกันที่ Lottosod59 เว็บออโต้กระเป๋าเดียวที่ดีที่สุด