พระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสกลนคร

พระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสกลนคร

พระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสกลนคร 

พระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ที่มีความเก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดสกลนคร อีกทั้งยังถูกสร้างขึ้นให้ตรงตามตำแหน่งของดาราศาสตร์ ตามตำนานอุรังคธาตุได้กล่าวถึงประวัติการสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวงเอาไว้ ส่วนจะมีเรื่องราวอย่างไรนั้น ตามไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้กันเลยค่ะ

( นอกเหนือจากนี้ ยังมีเรื่องราวดีๆอีกมากมาย ซึ่งท่านสามารถติดตามได้ที่ “คนมีดวง” เว็บข่าวสารดีๆ เสริมความปัง ให้กับทุกๆคน )

ข้อมูลทั่วไป

พระธาตุนารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่ที่วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นพระธาตุที่สร้างด้วยหินทราย มีลักษณะปรางค์แบบขอมที่ส่วนใหญ่สร้างกันในสมัยนั้น ส่วนฐานพระธาตุก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ องค์เจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มประตูแต่ละด้าน ภายใต้ซุ้มข้างบนสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกด้านขด มุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร

 

ตำนานการสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง

ตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระเจ้าสุวรรณภิงคาระได้ทราบข่าวว่า พระมหากัสสปะเถระและพระอรหันต์ 500 องค์ จะนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า ซึ่งเป็นประดิษฐานพระธาตุพนมและจะต้องเสด็จผ่านสกลนคร พระเจ้าสุวรรณภิงคาระเกิดความศรัทธา จึงได้จัดประชุมอำมาตย์ผู้ใหญ่ เพื่อหารือการสร้างพระเจดีย์สององค์ไว้คอยรับเสด็จ เพื่อพระมหากัสสปะเถระผ่านมาจะขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์ โดยให้เจดีย์องค์หนึ่งสร้างไว้ที่พระราชอุทยานหลวง บนเนินเขาห่างจากพระราชวังไปทางทิศตะวัตกสามพันวา โดยให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง นั้นก็คือพระนางเจงเวงเป็นผู้รับผิดชอบในการสร้าง ส่วนเจดีย์อีกหนึ่งองค์ให้อำมาตย์ผู้ใหญ่ฝ่ายชายเป็นผู้สร้าง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระให้โจทย์การแข่งขันกับทั้งสองฝ่ายว่าให้สร้างเสร็จภายในคืนเดียว ให้ยืดว่าหากดาวประกายพรึกโผล่พ้นขอบฟ้าเป็นเวลาสิ้นสุดการก่อสร้าง 

ฝ่ายพระนางเจงเวงจึงได้ออกอุบายให้ฝ่ายหญิงนำเอาโคมไปแขวนไว้บนไม้สูง เพื่อให้อำมาตย์ฝ่ายชายเข้าใจว่าดาวประกายพรึกขึ้นแล้ว ด้วยเหตุนี้ทำให้พระนางเจงเวงสร้างพระธาตุเสร็จก่อน เมื่อพระมหากัสสปะ พร้อมทั้งพระอรหันต์ทั้ง 500 องค์ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุผ่านมาถึงสกลนคร พระเจ้าสุวรรณภิงคาระจึงได้ขอแบ่งส่วนพระบรมสารีริกธาตุ แต่พระมหากัสสปะได้ชี้แจงกับพระเจ้าสุวรรณภิงคาระว่า พระพุทธเจ้าท่านมีพระพุทธประสงค์ให้นำพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า แต่เพื่อมิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสปะจึงให้พระอรหันต์องค์หนึ่งกลับไปนำพระอังคารส่วนที่เหลือจากการถวายพระเพลิงที่เมืองกุสินารายณ์ มาประดิษฐานที่พระธาตุเจดีย์นารายณ์เจงเวงแทน ส่วนพระเจดีย์ของอำมาตย์ฝ่ายชายที่สร้างไม่เสร็จก็ให้ชื่อว่า พระธาตุภูเพ็ก

พระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสกลนคร

ปราสาทนารายณ์เจงเวง ในมุมมองของดาราศาสตร์ ความเชื่อ

ในทางโบราณคดีปราสาทนารายณ์เจงเวง ถือว่าเป็นโบราณสถานที่สมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดสกลนคร ส่วนในทางดาราศาสตร์บอกว่า ปราสาทหลังนี้ถูกออกแบบให้ทำมุมกวาด 90 องศาจากทิศเหนือ โดยหันหน้าเข้าสู่ทิศตะวันออกหรือวสันตวิษุวัต ซึ่งเป็นคนละสไตล์กับปราสาทเชิงชุม จากข้อมูลของกรมศิลปากรได้เปรียบเทียบความเหมือนในรูปแบบการก่อสร้างและศิลปะระหว่างปราสาทปาปวน เมืองเสียมราช ประเทศกัมพูชา กับปราสาทนารายณ์เจงเวง จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย บ่งชี้ให้เห็นว่ามีแบบแผนการก่อสร้างและศิลปะที่มีความคล้ายกันมาก ด้วยเหตุผลนี้กรมศิลปากรจึงให้ความเห็นว่าปราสาทนารายณ์เจงเวงถูกสร้างขึ้นในยุคสมัยปาปวน ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวงถูกกำหนดให้สอดคล้องกับตำแหน่งดาราศาสตร์ทั้งสี่ทิศ ตรงกลางของธรณีประตูทิศตะวันออก เป็นช่องทางแสงอาทิตย์ยามเช้าของวันที่ 21 มีนาคม จะผ่านเข้าไปภายในห้อง และเมื่อพิจารณาภูมิประเทศย้อนหลังของสมัยนั้น ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวงตั้งอยู่บนเนินสูง ทำให้สามารถมองเห็นหนองหารได้อย่างชัดเจนแม้จะอยู่ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร แสงอาทิตย์ก็สามารถส่องเข้าหน้าประตูปราสาทได้แบบไม่มีอะไรมาบดบัง แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป ความเจริญของบ้านเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเข้ามาแทนที่ ทำให้ภูมิประเทศถูกปรับเปลี่ยนเป็นอาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างนานาชนิด ภาพของปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวงที่สร้างขึ้นโดยอิงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์จึงได้เลือนหายไปอย่างน่าเสียดาย ปราสาทพระธาตุนารายณ์เจงเวง ได้รับการบูรณะโดยกรมศิลปากรซึ่งใช้วิธีการ “อนาสติโลซีส” ของฝรั่งเศสโดยรื้อทุกชิ้นส่วนออกมาทำความสะอาด ซ่อมแซม และประกอบเข้าไปใหม่ โดยจะมีการกำหนดเบอร์ของแต่ละชิ้นส่วนก่อนจะรื้อ แต่ปรากฏว่าปราสาทก็ยังมีชิ้นส่วนที่ไม่ได้ถูกนำไปประกอบอยู่เป็นจำนวนมากเป็นรูปแกะสลักสวยงามถูกกองทิ้งอยู่ใต้ต้นไม้มานานหลายปี 

 

การเดินทาง

พระธาตุนารายณ์เจงเวงอยู่ห่างจากตัวเมืองสกลนครประมาณ 5 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 22 เส้นทางสกลนคร-อุดรธานี เมื่อถึงบริเวณบ้านธาตุซึ่งอยู่ก่อนถึงสี่แยกถนนเลี่ยงเมืองเล็กน้อย ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 400 เมตร ถึงพระธาตุนารายณ์เจงเวง

 

สรุป 

พระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ แห่งเมืองสกลนคร ตำนานอุรังคธาตุได้กล่าวถึงประวัติการสร้างพระธาตุนารายณ์เจงเวง ว่าเกิดขึ้นโดยพระเจ้าสุวรรณภิงคาระที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนา จึงอยากได้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า จึงได้ให้อำมาตย์ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงแข่งกันสร้างเจดีย์ขึ้น ฝ่ายหญิงที่รับผิดชอบโดยพระนางเจงเวงได้สร้างเจดีย์เสร็จก่อนจึงได้นำพระอังคารมาประดิษฐานที่พระธาตุเจดีย์นารายณ์เจงเวง ส่วนพระเจดีย์ของอำมาตย์ฝ่ายชายที่สร้างไม่เสร็จก็ให้ชื่อว่า พระธาตุภูเพ็ก

สุดท้ายนี้ ขอแนะนำสิ่งดีๆ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าทางการเงินให้ท่าน ที่นี่เลย Lottosod59 เว็บออโต้กระเป๋าเดียวที่ดีที่สุด