ทำไมงานแต่งงานต้องมี “สินสอด” ความหมายและจุดเริ่มต้น 

ทำไมงานแต่งงานต้องมี "สินสอด" ความหมายและจุดเริ่มต้น 

ทำไมงานแต่งงานต้องมี “สินสอด” ความหมายและจุดเริ่มต้น 

ประเพณีเรื่องการแต่งงานของไทยมีมาตั้งแต่โบราณ ส่งทอดวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน มีพิธีและหลายขั้นตอน คนไทยสมัยใหม่หลายคนเกิดความสงสัยว่า สินสอด นั้น มีความเป็นมาเป็นไปอย่าง ทำไมวัฒนธรรมการแต่งงานจะต้องมีสอดสินเข้ามาเกี่ยวข้อง ความจริงแล้วสินสอดนั้นมีความหมายอย่างไร ตามไปหาคำตอบกันได้ในบทความนี้กันเลยค่ะ

“คนมีดวง” เว็บข่าวสารดีๆ เสริมความปัง ให้กับทุกๆคน

สินสอดคืออะไร 

 สินสอด ตามความหมายที่มีมาตั้งแต่โบราณ คือ ทรัพย์สินที่ผู้ชายนำมามอบให้แก่พ่อแม่ของผู้หญิง เพื่อแสดงถึงการตอบแทนที่ยินยอมให้ลูกสาวแต่งงานกับตน และเป็นเหมือนตอบแทนค่าเลี้ยงดู ค่าน้ำนม ให้กับทางพ่อแม่ผู้หญิง ตามธรรมเนียมแล้วสินสอดจะตกเป็นสิทธิ์ของพ่อแม่ หรือผู้ปกครองของผู้หญิงทันที แม้ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม ส่วนคำว่า สินสอด ตามความหมายของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาคือ “เงินที่ฝ่ายชายนำมามอบให้แก่บิดามารดาของผู้หญิงที่ตนกำลังจะแต่งงานด้วย ในคำโบราณเรียกว่า ค่าน้ำนมข้าวป้อน” การมอบสินสอดให้กับครอบครัวผู้หญิงนอกจากมอบเพื่อขอบคุณที่เลี้ยงดูเจ้าสาวมาเป็นอย่างดีแล้ว สินสอดยังเป็นเสมือนหลักประกันความมั่นคงของเจ้าบ่าวที่มีต่อเจ้าสาว ว่าจะสามารถเลี้ยงดูเจ้าสาวให้ไม่ขาดตกบกพร่องได้ หรือหากต้องเลิกรากัน ก็ยังมีค่าสินสอดนี้ไว้ให้ฝ่ายหญิงเลี้ยงดูตัวเอง

ทำไมงานแต่งงานต้องมี "สินสอด" ความหมายและจุดเริ่มต้น 

ทำไมแต่งงานถึงต้องมีสินสอด

คนไทยสมัยก่อนได้คิดกุศโลบาย สินสอด ขึ้นมาก็เพราะว่า แต่สมัยก่อนผู้ชายกับผู้หญิงเมื่อถึงวัยที่จะต้องออกเรือน มักจะถูกพ่อแม่จับคลุมถุงชนเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายผู้หญิงกลายเป็นหม้ายขันหมาก จึงได้คิดกุศโลบายที่เรียกว่า “สินสอดทองหมั้น” ไว้เพื่อไม่ให้ฝ่ายชายทอดทิ้งการแต่งงานในครั้งนี้ อีกทั้งยังเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายชายสามารถเลี้ยงดูฝ่ายหญิงต่อไปได้ในอนาคต และในสมัยก่อนนั้นผู้หญิงจำเป็นต้องพึ่งพาผู้ชายในการใช้ชีวิต เงินสินสอดจึงเป็นเหมือนเครื่องการันตีความมั่นคงให้กับชีวิตของเจ้าสาว หากเกิดเรื่องอะไรขึ้นในอนาคต ฝ่ายหญิงจึงจะสามารถดูแลตัวเองได้ นอกจากนี้สินสอดงานแต่งไม่ได้มีอยู่แค่ในวัฒนธรรมไทยเท่านั้น เนื่องจากประวัติศาสตร์ของการมอบสินสอดทองหมั้น หากนับย้อนไปในอดีตหลายพันปี จะสามารถพบธรรมเนียมสิยสอดในเกือบทุกอารยธรรม ตั้งแต่อียิปต์โบราณ ฮิบรู เมโสโปเตเมีย แอซเท็ก อินคา ไปจนถึงวัฒนธรรมกรีกโบราณ วัฒนธรรมของสินสอด ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. สินสอดเจ้าสาว 

สินสอดเจ้าสาวคือ สินสอดงานแต่งที่ฝ่ายชายจะมอบให้กับครอบครัวฝ่ายหญิงอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น การมอบสินสอดในลักษณะนี้ นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังอยู่ในวัฒนธรรม จีน แอฟริกา และธรรมเนียมประเพณีในศาสนาอิสลามที่ฝ่ายชายต้องจ่าย ค่ามะฮัร (ของขวัญหรือสินน้ำใจ) ให้กับครอบครัวฝ่ายหญิง เป็นต้น

 

2. สินสอดเจ้าบ่าว 

สินสอดเจ้าบ่าวมีลักษณะเหมือนกันกับสินสอดเจ้าสาว แต่สินสอดเจ้าบ่าวจะต่างกันที่ฝ่ายหญิงต้องนำสินทรัพย์มามอบให้กับฝ่ายครอบครัวของเจ้าบ่าว เพราะบางประเทศครอบครัวฝ่ายหญิงจะเป็นผู้สู่ขอฝ่ายชาย อย่างเช่นประเทศอินเดีย เพราะถือในอนาคตหลังจากแต่งงานฝ่ายชายจะต้องดูแลฝ่ายหญิงต่อไปนอกจากนี้การมอบสินสอดให้เจ้าบ่าวยังมีใน วัฒนธรรมของประเทศบังคลาเทศและปากีสถาน หรือในแถบยุโรปที่มีการมอบ สินสอดเจ้าบ่าว มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ยุคโบราณและยุคกลางเลยทีเดียว แต่ยุโรปการมอบ สินสอดเจ้าบ่าว จะเป็นการมอบทรัพย์สินติดตัวให้กับผู้หญิงเพื่อเป็น “สินเดิม” ติดตัวไปก่อนแต่งงาน แต่เวลาผ่านไป สินเดิม ของผู้หญิงก็ต้องกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ชาย ต่อมาการมอบสินสอดเจ้าบ่าว จึงกลายมาเป็นการมอบทรัพย์สินให้ฝ่ายชายในที่สุด เมื่อศตวรรษที่ 19 – 20 ธรรมเนียมการมอบสินสอดเจ้าบ่าวในยุโรปและพื้นที่ใกล้เคียงค่อยๆหายไป แต่ก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งช่วงท้ายศตวรรษที่ 20 แม้รัฐบาลบางประเทศจะประกาศว่าการเรียกร้องสินสอดทองหมั้นจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นเรื่องผิดกฎหมายก็ตาม

ทำไมงานแต่งงานต้องมี "สินสอด" ความหมายและจุดเริ่มต้น 

สินสอดตามความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรม

1.  เมโสโปเตเมีย

สินสอดวัฒนธรรมชาวเมโสโปเตเมียในอดีต นั้นจะถูกกำหนดโดยญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย โดยมีกฎร่วมกันว่า ถ้าหากฝ่ายชายนอกใจฝ่ายหญิงจะไม่ได้รับค่าสินสอดคืน ยกเว้นก็แต่ว่าพ่อตาจะไม่เอาเรื่อง

2. วัฒนธรรมชาวยิว

คัมภีร์ฮิบรูของชาวยิวได้กำหนดเรื่องสินสอดไว้ตั้งแต่อดีตกาลนานมาแล้ว โดยมีบทหนึ่งในคัมภีร์กล่าวไว้ว่า “หากชายผู้ใดที่เกี้ยวพานราศีหญิงสาวบริสุทธิ์ ต้องจ่ายค่าสินสอดทองหมั้น และแต่งงานกับเธอ แต่ถ้าหากครอบครอบฝ่ายหญิงสาวไม่ยกลูกสาวให้ ฝ่ายชายต้องจ่ายค่าสินสอดเพื่อชดใช้พรหมจรรย์ที่หญิงสาวเสียไป”

3. กฏของชาวอิสลาม

ศาสนาอิสลามได้มีกฏบัญญัติการแต่งงานไว้ว่า ฝ่ายชายจะต้องจ่าย มะฮัร  ซึ่งถือเป็นของขวัญ และสินน้ำใจที่ฝ่ายชายมอบให้ครอบครัวฝ่ายหญิง มะฮัรแตกต่างจากสินสอด คือไม่มีการกำหนดราคาค่าตัวฝ่ายหญิงที่แน่ชัด แต่จะขึ้นอยู่กับความสบายใจของครอบครัวทั้งสองฝ่าย ส่วนมะฮัร จะเป็นสมบัติส่วนตัวของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว

4. แอฟริกา

ในวัฒนธรรมประเทศแถบแอฟริกา ก็มีสินสอดเหมือนกัน โดยฝ่ายเจ้าบ่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในงานแต่งทั้งหมด รวมถึงต้องมอบปศุสัตว์ให้กับครอบครัวฝ่ายหญิง เช่น โคนม แพะ แกะ หรือควาย เป็นต้น ในส่วนของรายละเอียดอื่นๆจะเป็นไปตามประเพณีพื้นเมืองของพื้นที่นั้นๆ

 

สรุป 

ทำไมงานแต่งงานต้องมี “สินสอด” ความหมายและจุดเริ่มต้น ทุกท่านคงได้รู้กันไปแล้ว ว่าสินสอดนั้นมีที่มาอย่างไร ถึงแม้ในอดีตวัฒนธรรมการเรียกสินสอดของคนไทยจะเคร่งครัดมาก แต่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องสินสอดมากนัก 

แต่การรู้จักธรรมเนียม ประเพณี ที่เคยปฏิบัติกันมาอย่างยาวนั้นไว้นั้นก็ไม่เสียหาย แต่ถึงอย่างไร ความรักจะมั่นคงได้แค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกันของคนสองคน

สุดท้ายนี้ ขอแนะนำสิ่งดีๆ ที่จะช่วยสร้างโชคลาภให้ทุกท่าน Lottosod59 เว็บออโต้กระเป๋าเดียวที่ดีที่สุด