ทฤษฎี สามเหลี่ยมความรัก คืออะไร
ทฤษฎี สามเหลี่ยมความรัก คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่เป็นสามเหลี่ยมความรัก สามารถไปติดตามกันได้ในบทความนี้เลยครับ
ก่อนไปต่อในบทความ นอกเหนือจากนี้ ยังมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับความรักอีกมากมาย ซึ่งท่านสามารถติดตามได้ที่ “คนมีดวง” เว็บข่าวสารดีๆ เสริมความปัง ให้กับทุกๆคน
ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก
Sternberg (1986) เสนอทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรัก ซึ่งอธิบายถึงธรรมชาติและรูปแบบของความรักว่าประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้ดังนี้
1.ความใกล้ชิด (intimacy) เป็นองค์ประกอบด้านอารมณ์ หมายถึงมีความคุ้นเคยใกล้ชิดกันในความรู้สึก ความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง ความเอื้ออาทรต่อกัน การสื่อสารกันได้อย่างดี มีความไว้วางใจต่อกัน จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของความสัมพันธ์
2.ความเสน่หา (passion) เป็นองค์ประกอบด้านแรงจูงใจ เกิดจากแรงขับเคลื่อนภายในระบบของร่างกาย หรือความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นทางสรีระ เป็นความดึงดูดทางเพศ เช่น ความพอใจในรูป กลิ่น เสียง หรือจริตกิริยาของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเสน่ห์อื่นๆ และยังรวมถึงการกระตุ้นอื่นๆ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกหลงรัก และโรแมนติกอีกด้วย
3.ความผูกมัด (commitment) เป็นองค์ประกอบด้านความคิด ความหมายคือการตัดสินใจที่จะรักหรือมีพันธะทางใจ และทางสังคมต่อกัน การใช้เวลาร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ การใช้ชีวิตร่วมกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีความรับผิดชอบในพันธะที่ตกลงต่อกัน การรับพันธะผุกพันจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อมีความสนิทสนมกันมากขึ้น และเปลี่ยนไปตามระดับของความสุดความพอใจในแต่ละช่วงเวลา หากเกิดปัญหาที่ยุ่งยากในความสัมพันธ์ระหว่างกัน การรับพันธะผูกพันอาจจะทำให้ระดับลดลงไป
ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรัก มีกี่ประเภท
จากองค์ประกอบของความรักทั้งสาม สามารถแบ่งความรักออกได้เป็น 8 ประเภท คือ
1.การไม่มีความรัก (nonlove) คือ เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่มีองค์ประกอบทั้งสามเลย จะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแบบง่ายๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไม่มีความรู้สึกหรือความรักมาเกี่ยวข้อง
2.ความชอบ (liking) คือ เป็นรักที่ประกอบด้วยความใกล้ชิดกันเท่านั้น เกิดขึ้นกับคนที่เรานั้นสนิทสนมใกล้ชิดด้วย เช่น เพื่อน คนรู้จัก เป็นต้น
3.รักแบบหลงใหล (infatuated love) คือ เป็นความรักที่จะประกอบด้วยความเสน่หาเพียงอย่างเดียว เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง หรือที่รู้จักกันว่ารักแรกพบนั่นเอง
4.ความสัมพันธ์แบบปราศจากความรัก (empty love) คือ เป็นรักที่จะประกอบไปด้วยความผูกมัดเพียงอย่างเดียว เช่น การแต่งงานที่ปราศจากความรู้สึกที่ดีต่อกัน แต่เพียงแค่อยู่ร่วมกัน ซึ่งอาจพัฒนาองค์ประกอบอื่นได้ในภายหลัง
5.รักแบบโรแมนติก (romantic love) คือ เป็นรักที่ประกอบไปด้วยความใกล้ชิด และความเสน่หา เกิดเมื่อบุคคลที่รู้จักกันได้ใกล้ชิดกัน จึงเกิดความรู้สึกตื่นเต้นทางร่างกาย ปรารถนาที่จะได้อยู่ใกล้ชิด ได้สัมผัส และได้ถ่ายทอดความรู้สึกระหว่างกันโดยไม่มีพันธะผูกมัดต่อกัน
6.รักแบบมิตรภาพ (companionate love) คือ เป็นความรักที่ประกอบไปด้วยความใกล้ชิด และความผูกมัด มักจะเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระยะยาว เช่น เพื่อน หรือคู่แต่งงานที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมานาน
7.รักแบบไร้สติปัญญา (fatuous) คือ เป็นรักที่ประกอบไปด้วยความเสน่หา และความผูกมัด โดยบุคคลที่พบรักจะผูกมัดกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งรักแบบนี้ก็มักจะจบลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน
8.รักสมบูรณ์แบบ (consummate love) คือ เป็นรักที่มีทั้งสามองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นทั้งความเสน่หา ความใกล้ชิด และความผูกมัด ความรักรูปแบบนี้จะเป็นรักที่บุคคลปรารถนาแต่ก็ยากที่จะเกิดขึ้น และรักษาให้คงสภาพไว้ได้ยาก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับรูปแบบความสัมพันธ์ และสถานการณ์สภาพแวดล้อม ในความสัมพันธ์ระหว่างสองบุคคลอีกด้วย
สรุปแล้ว
ทฤษฎี สามเหลี่ย มความรัก คืออะไร จากที่ได้กล่าวมานั้นจะเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติหรือรูปแบบของความรักที่เกิดขึ้นในมนุษย์เรา สำหรับใครที่ได้อ่านบทความในเรื่องนี้แล้ว คงจะทำให้เข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของความรักที่เกิดขึ้นของตัวคุณเองแล้ว หากใครที่กำลังมีความรักในตอนนี้ ก็สามารถนำทฤษฎีที่ว่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตกันดูนะครับ
สุดท้ายนี้ ขอแนะนำสิ่งดีๆ ที่จะช่วยสร้างโชคลาภให้ทุกท่าน Lottosod59 เว็บออโต้กระเป๋าเดียวที่ดีที่สุด